เดินทางตามรอยตีนไดโนเสาร์ อายุประมาณ 100 ล้านปี ที่แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ ท่าอุเทน อีกสถานที่ที่ไม่ควรพลาด


Tha  Uthen  Dinosaur Footprints










    ระยะทาง  ไม่ใกล้ไม่ไกล   แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์    ที่ บ้านพนอม   อำเภอท่าอุเทน  อายุ 100  ล้านปี ติดถนนหลวงเส้นทางจากนครพนมไปบ้านแพง    กิโลเมตรที่ 257    เป็นอีกหนึ่งสถานที่น่าเรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูล ด้านธรณีวิทยา      ที่ไม่ไกลไม่ไกลของ จังหวัดนครพนมเลย

โดยแหล่งตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทนนี้  เป็นแหล่งที่มีความสำคัญ   เพราะพบรอยตีนเป็นจำนวนมากที่สุดของประเทศไทย  เป็นร่อยรอยที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในชั้นหินโดยธรรมชาติ   

   เจ้าของรอยตีนที่อยู่ในแหล่งเรียนรู้นี้มี   

  • ออร์นิโธโมซอร์   (Ornithomimosaurs )
  • อิกัวโนดอน         ( Iguanodon  )
  • ซอโรพอด           (Sauropods )
  • จระเข้                  ( Crocodilians )




รอยเท้าไดโนเสาร์เกิดขึ้นได้ยังไง ที่แหล่งเรียนรู้นี้มีคำตอบ

รอยตีนไดโนเสาร์ประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ

  1.   แม่พิมพ์  ( mold )  หรือ ส่วนที่ไดโนเสาร์เหยียบเป็นรอยลึกลงไปในพื้นดิน 
  2.   รูปหล่อ ( cast )   หรือ  ส่วนของตะกอนใหม่ที่ตกทับถมรอยตีนนั้น  

ฟอสซิลรอยตีนไดโนเสาร์เกิดจาก 

  •  การเหยียบลงพื้นดินที่อ่อนนุ่ม    ทำให้เกิดเป็นรอยพิมพ์ขึ้น 
  •  ถูกแดดแผดเผา จนแห้ง  
  •  มีตะกอนใหม่มาตกทับสะสมรอยพิมพ์นั้น   
  •  พื้นดินบริเวณนั้นกลายเป็นหิน  ด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยาและเวลาที่ผ่านไป
  •  เปลือกโลกเกิดการเคลื่อนตัว  ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นเป็นภูเขา และชั้นหินด้านบนถูกกัดเซาะออกไป  รอยตีนไดโนเสาร์ก็ปรากฏให้เห็นเป็นฟอสซิล


         เมื่อเทียบกับไดโนเสาร์ แล้ว   มนุษย์ยุคปัจจุบัน  เพิ่งอยู่บนโลก  100,000  ปี  ไดโนเสาร์พวกแรกปรากฏขึ้น เมื่อ  230 ล้านปีก่อน    แพร่พันธฺครอบครองดินแดนนานถึง  165 ล้านปีที่ผ่านมา    จน 65 ล้านปีที่ผ่านมา  ไดโนเสาร์ก็สาปสูญไปอย่างฉับพลัน   

       บรรพบุรุษไดโนเสาร์ขนาดเท่ากับสุนัข มีวิวัฒนาการเป็นนักฆ่าขนาดยักษ์พอๆกับช้าง  ไดโนเสาร์เป็นกลุ่มวัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่  ลักษณะเหมืนสัตว์ เลื้อยคลานปัจจุบัน   ส่วนใหญ่มีผิวหนังเป็นเกล็ด  หางยาวมีฟัน   และกรงเล็บที่นิ้วตีน  เดินตัวตรงบนขา เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ลักษณะนี้ทำให้มันคล่องแคล่ว ว่องไวบนแผ่นดิน   ซึ่งสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน  จะเดินด้วยขาที่กางออกข้างลำตัว พวกกินพืชที่ตัวยาวเท่ากับรถบัสหลายคัน     พวกตัวเล็ก ว่องไวขนาดเท่าไก่   






👉ประวัติด้านธรณีวิทยาของแหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน 

         เมื่อร้อยล้านปี     บริเวณภาคอีสาน  ของไทย  มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านมาบรรจบจากทิศตะวันออกเฉี่ยงเหนือ เข้าสู่แอ่งกลาง แล้วไหลออกทางทะเลทางทิศตะวันตก  ด้วยสภาพภูมิอากาศ   ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง    ตะกอนที่สะสมตัวในแม่น้ำและที่ราบลุ่มนี้จึงมีสีแดง     ช่วงฤดูฝน   น้ำเจิ่งนองไปทั่ว  และไหลจากที่สูง ลงไปสะสมร่องน้ำลำธารลงสู่แม่น้ำใหญ่    
     ในขณะทีน้ำไหลผ่าน  ทำให้เกิดรอยริ้วคลื่น  บนผิวหน้าชั้นดิน  บ่งบอกถึงทิศทางการไหลของน้ำ ไดโนเสาร์หลากหลายชนิด อาศัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเหล่านี้ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่อุดมสมบูรณ์ ของทั้งพืชและสัตว์   เมื่อไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  เดินผ่านบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ  ซึ่งเป็นพื้นทรายที่กำลังหมาดๆ   จึงเกิดรอยตีนปรากฏชัดบนพื้น








       ธรณีวิทยาของแหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน   อยู่ในหมวดหินโคกกรวด   ยุคครีเทเซียสตอนต้น     อายุประมาณ  100   ล้านปี   ประกอบด้วยหินทราย   หินทรายแป้งและหินโคลน    สีน้ำตาลแดง     มีริ้วรอยคลื่น  ( ripple  mark )  และรอยระแหงโคลน  (mud mark )  การคัดขนาดของเม็ดทราย  อยู่ในระดับปานกลาง   บ่งบอกสภาพแวดล้อมทางโบราณ  แบบแม่น้ำพัดพาริมฝั่งแม่น้ำ 

👉ประวัติการค้นพบ และ สำรวจ 

          เมื่อกรกฏาคม  พุทธศักราช   2544   รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติขณะนั้น  พานักธรณีวิทยาสำรวจภาคสนามที่อำเภอท่าอุเทน   นครพนม  ได้พบร่องรอยตีนอยู่บนผิวหน้าของหินทราบน้ำตาลแดง   ภายในบ่อเหมืองหิน  ริมทางหลวงสายนครพนมมุ่งสู่  อำเภอบ้านแพง     และได้แจ้งมายังกรมทรัพยากรธรณี  

         หลังจากนั้นคณะสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณีได้มาตรวจสอบ    พบรอยตีนไดโนเสาร์บนผิวหน้าของหินทรายแดง  จำนวนมาก  มีทั้งเป็นรอยพิมพ์จริง คือ  รอยบุ๋มลึกลงไป   ส่วนที่เป็นรอยพิมพ์นูน  โดยลักษณะของรอยตีนเห็นชัดเจน คือ เป็น สามนิ้วคล้ายรอยตีนไก่  ปลายนิ้วมีร่องรอยบ่งบอกว่าเป้นรอยเล็บแหลมคม   แสดงถึงลักษณะะของไดโนเสาร์  พวกกินเนื้อ   
แนวทางเดินและขนาดบอกได้ว่า  ด้วยสองขาหลัง   ขนาดความสูงจากพื้นถึงสะโพก ประมาณ 1 เมตร    รอยจำนวนมากเดินไปในแนวทางเดียวกัน     แสดงว่าอยู่รวมกันเป็นฝูง พวกนี้น่าจะเป็นไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ  และ มีรอยตีนของไดโดนเสาร์ กินพืช  ขนาดใหญ่ จำพวก ซอโรพอต   และอิกัวโนตอน   และยังพบรอยตีนของ จระเข้อีกหลายแนว  
      รอยตีนเหล่านี้ปรากฏอยู่บนผิวหน้าที่เป็นรอยริ้วคลื่น และรอยระแหงโคลน ในหินทรายที่มีอายุประมาณ  ร้อยล้านปี  ซึ่งถูกระเบิดออกมาเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่ขุดลึกลงไป  20 เมตร  กว้าง   200  เมตร   ยาว  500  เมตร   เพื่อนำไปถมตลิ่งป้องกันฝั่งแม่น้ำมรจังหวัดนตรพนมถูกกัดเซาะ   

   กลางปี พ.ศ.  2546    คณะสำรวจได้เข้ามาสำรวจอีกครั้ง   พบว่าเหมืองหินได้ยกเลิกกิจการแล้ว   แต่บริเวณขอบบ่อยังเหลือชั้นหิน  ที่มีรอยตีนไดโดนเสาร์ปรากฏอยู่   จึงได้ศึกษาอย่างเป็นระบบ  พบ รอยทางเดินของไดโดนเสาร์อยู่ในชั้นหินของบ่อด้านทิศเหนือ  เป็นแนวกว้างประมาณ 2-3 เมตร    ยาว   20-30  เมตร   ทั้ง  3  บริเวณไม่ต่อเนื่องกัน    

 กุมภาพันธ์   พ.ศ.   2547  คณะสำรวจไดโดนเสาร์ ไทย - ฝรั่งเศส  ได้เข้ามาสำรวจอีกครั้ง  พบรอยตีนไดโดนเสาร์ เพิ่มเติมอีกเป็นบริเวณกว้าง  ประมาณ  30   ตารางเมตร  ประกอบด้วยแนวทางเดิน  32 แนว    รอยตีน  202  รอย    สันนิษฐานกันว่า เป้นรอยของไดโนเสาร์  2  ชนิด คือ  ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ และอิกัวดนตรอน  และยังพบรอยตีนจระเข้ อีก 1   ชนิด  


            เมื่อเดินทางถึงแหล่งเรียนรู้   ด้านภายในจะประกอบด้วยไดโนเสาร์ปูนปั้น  และชื่อเจ้าของรอยตีนในแหล่งเรียนรู้นี้ มีทางเดิน และราวกั้น รอบแผงรอยตีนนั้นๆ   พร้อมคำอธิบายของเจ้าของรอยตีนนั้นประกอบเป็นความรู้อย่างมาก  และง่ายในการเรียนรู้เข้าใจในวิวัฒนาการสมัยดึกดำบรรพ์  


👉การเดินทาง 

  • ห่างจากอำเภอท่าอุเทน  ประมาณ  15  กิโลเมตร    หรือ  ห่างจาก  อำเภอบ้านแพง   35  กิโลเมตร
  • ห่าง จากตัวเมือง จ.นครพนม   ประมาณ  59  กิโลเมตร   

  • ห่างจาก กรุงเทพมหานคร  ประมาณ   735 กิโลเมตร  

      โดยสามารถเดินทางได้ทั้งในส่วนรถโดยสารหรือรถส่วนตัว  ผ่านทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข  212   นครพนม - บ้านแพง  กิโลเมตรที่   257


THA UTHEN  DINOSAUR   FOOTPRINTS





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น